วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

วิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษา
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544


ผู้วิจัย นางสาวอัจฉรา  เสาว์เฉลิม

สาขาวิชาพลศึกษา ภาควิชาพลศึกษา
คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2546


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
          เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาตามหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2554
ขอบเขตของการวิจัย
          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานืพุทธศักราช 2544 ได้แบ่งสาระการเรียนรู้ออกเป็น 8 กลุ่มวิชา ดังนี้ คือ 1.ภาษาไทย 2. คณิตศาสตร์ 3.วิทยาศาสตร์ 4.สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5.สุขศึกษาและพลศึกษา 6.ศิปะ 7.การงานอาชีและเทคโนโลยี 8.ภาษาต่างประเทศ และวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาเป็นหนึ่งใน 8 กลุ่มวิชานี้
          ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะทำการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเฉพาะทางด้านพลศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เพียงด้านเดียวทั้งนั้น
วิธีดำเนินการวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ผู้วิจัยดำเนินการออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
          1. การสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน    พุทธศักราช 2544
          2. การทดลองใช้และปรับปรุง แล้วทำการหาประสิทธิภาพของรูปแบบ
หลักการ ขั้นตอนในการพัฒนาสื่อกับเทคโนโลยีการศึกษา


สรุปขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษา
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและพัฒนารูปแบบ
     1.1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานต่อไปนี้
          - พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
          - หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
          - รูปแบบการเรียนการสอน
          - ปรัชญาการศึกษาและทฤษฏีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
          - ปรัชญาการศึกษาและทฤษฏีการเรียนรู้พลศึกษา
          - คุณธรรม จริยธรรม และสมาธิ
          - สัญญาการเรียนการสอน
     1.2 การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบ
          - สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียน
          - กำหนดองค์ประกอบรูปแบบการเรียนการสอน
          - การจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบฯ
     1.3 การตรวจสอบคุณภาพรวมทั้งการปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาและเอกสารประกอบรูปแบบ
          - การสร้างเครื่องมือประเมินรูปแบบการเรียนการสอน
          - นำรูปแบบฯและเอกสารประกอบรูปแบบฯไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา
          - นำผลการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิมาวิเคราะห์แล้วปรับปรุงรูปแบบฯและเอกสารประกอบรูปแบบฯตามคำแนะนำ
          - การทดลองนำร่องรูปแบบเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้
          - การแก้ไขปรับปรุงโดยทำตามคำแนะนำของผูทรงคุณวุฒิและจากการทดลอง
ขั้นตอนที่ 2 การทดลองและปรับปรุง แล้วทำการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน
     - การจัดกลุมทดลองและกลุ่มควบคุม( วัดผลก่อนและหลังการทดลอง ) Noneqquivalent Group Design

กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ( นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 )

                                                   กลุ่มควบคุม                     กลุ่มทดลอง

                            - การดำเนินการทดลอง         Pre - test

                                               สอนด้วยรูปแบบ                สอนด้วย
                                                 ที่พัฒนาขึ้น                   รูปแบบปกติ

                                                                         Post - test
                                         เก็บรวบรวมข้อมูลสังเกตว่าระหว่างการใช้รูปแบบที่
                                             พัฒนาขี้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างไร

- การวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง
      - การสรุปผลและอภิปรายผลการทดลอง
                                                
  รูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์

ผลการนำสื่อกับเทคโนโลยีมาใช้ทางการศึกษา 
ผลการวิจัยพบว่า
          รูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 นี้ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ
                 1.ขั้นกำกับควบคุมตนเองด้วยสัญญาการเรียนการสอน
                 2.ขั้นเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอนด้วยกระบวสนการมีส่วนร่วมในหน้าที่ที่รัยผิดชอบ และการอบอุ่นร่างกาย
                 3.ขั้นการเรียนการสอนเน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
                 4.ขั้นฝึกทักษะ
                 5.ขั้นนำไปประยุกต์ใช้
                 6.ขั้นสมาธิ
                 7.ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ
             โดยรูปแบบที่สร้างนี้มีประสิทธิภาพทางการเรียนพลศึกษามากกว่ารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05