วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[12.jpg]ประวัติกีฬาเทควันโด
         เทควันโด เป็นศิลปะการป้องกันตัวชองประเทศเกาหลีมีมาตั้งแต่ 2 พันกว่าปี ในปี ค.ศ.1955 องค์กรพิเศษได้ถูกจัดตั้งขึ้นในนามขององค์การควบคุมศิลปะแห่งชาติ ถูกตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่และควบคุมทำการสอนให้แก่สาธารณะชน องค์กรทางทหารซึ่งขึ้นอยู่กับเงินทุนกองกลางที่มีสามชิกขององค์กร เป็นผู้ที่มีความคิดความสามารถที่เชี่ยวชาญกลุ่มสมาชิกได้รวมตัวกัน โดยมีนายพล Choi Hong Hi เป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า เทควันโด(Taekwondo)จนกระทั่งทุกวันนี้มีคนจำนวนมากกว่า 30 ล้านคนทั่วโลกจาก 140 เมืองที่ได้รับการ ฝึกฝนด้านเทควันโด
         ศูนย์กลางเทควันโดโลก คือKukkiwon เป็นสัญลักษณ์ของเทควันโด โดยมีนายอุน ยอง คิม (Un Yong Kim) เป็นประธานสหพันธ์เทควันโดโลก และเป็นประธานสมาคมเทควันโดของประเทศเกาหลี 
ค.ศ. 1973 มีการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก
ค.ศ.1974 มีการสัมมนาผู้ตัดสินนานาชาติ และมีการแข่งขันชิงแชมป์ของเอเชียเป็นครั้งแรก
ค.ศ.1986 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี
ค.ศ.1987 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาซีเกมส์
ค.ศ.1988 เทควันโดเป็นกีฬาสาธิตในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี
ค.ศ.2000 เทควันโดเป็นกีฬาในโอลิมปิกเกมส์ ณ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

ประวัติความเป็นมาของเทควันโดในประเทศไทย
         ยุคแรก เทควันโดมีการเรียนการสอนเฉพาะทหารอเมริกันตาม ตามฐานทัพต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น อู่ตะเภา จ.อุบลราชธานี จ.นครราชสีมา เป็นต้น โดย ทหารอเมริกันได้จ้างอาจารย์เทควันโด จากประเทศเกาหลีมาเป็นผู้ฝึกสอนให้ ยุคก่อนปัจจุบัน เป็นครั้งแรกที่เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้เรียน เมื่อประมาณ 25 ปีกว่าได้มีการเรียนการสอนที่บริเวณด้านหลังโรงภาพยนตร์ลิโด สยามสแควร์ ซึ่งก็ยังมีคนเรียนกันไม่มากนักในเวลาต่อมา เทควันโดได้เปิดสอนที่โรงเรียนศิลปะป้องกันตัวอาภัสสา ถ.สุขุมวิท ตรงข้ามสถานทูตอังกฤษ โดยการนำของ คุณมัลลิกา ขัมพานนท์ ผู้ซึ่งมีความสนใจและรักกีฬาเทควันโดอย่างจริงจัง ทั้งยังได้พัฒนาและเผยแพร่เทควันโดในประเทศไทย โดยการนำ อ.ซอง กิยอง จากประเทศเกาหลีมาเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียน และ คุณมัลลิกา ยังเป็นนายกสมาคมเทควันโดคนแรกของประเทศไทย หลังจากนั้นเทควันโดก็ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยมา ปัจจุบันก็มียิมมากมายที่เปิดอยู่ทั่วประเทศไทย มีทั้งของจริง และเจ๋งแต่ไม่จริงก็เยอะ ดังนั้นท่านที่สนใจควรพิจารณาและสืบเสาะสักนิด กับยิมหรือสถาบันที่ท่านเรียน ว่ารองรับกับยิมอื่นหรือไม่ ให้วุฒิบัตรถูกต้องหรือไม่ มีเก็บประวัติไว้เพื่อสืบค้น ในกรณีคุณทำบัตรหายหรือไม่ ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะต้องรู้สึกแย่กับการเรียนเทควันโดโดยเหตุไม่อันควร
ประมาณ​ 11 เดือนที่แล้ว

1 ความคิดเห็น: